วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร

โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร

กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้อสำคัญอันเป็นโครงสร้างหลักของกฎหมาย แบ่งเป็น 6 หัวข้อคือ

1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
หรือผู้อยู่ในข่ายเสียภาษีอากร จะเป็นใครแล้วแต่ กฎหมายนั้นๆ จะกำหนด แต่โดยทั่วไป ได้แก่
บุคคลธรรมดา และหรือ นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย


2. ฐานภาษีอากร

มี 2 ความหมาย
ความหมายอย่างกว้าง: สิ่งที่เป็นมูลเหตุให้ต้องเสียภาษีอากร เช่น การมีรายได้, การมีทรัพย์สิน
หรือการใช้จ่าย
ความหมายอย่างแคบ: สิ่งที่รองรับอัตราภาษีอากร ภาษีที่ต้องเสีย = ฐานภาษีอากร x อัตราภาษีอากร


3. อัตราภาษีอากร

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
แบบคงที่: อัตราภาษีอากรไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจำนวนของฐาน ภาษีอากรจะเปลี่ยนแปลงไป
เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ~ 30%, 10% และ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ~ 7%
แบบก้าวหน้า: อัตราภาษีอากรเพิ่มขึ้น เมื่อฐานภาษีอากรมีจำนวน เพิ่มขึ้น

เช่น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% - 37%

แบบถดถอย: อัตราภาษีอากรลดลง แม้ว่าจำนวนของฐานภาษีอากร จะเพิ่มขึ้น

เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่

4. การประเมินจัดเก็บภาษีอากร

มีหลายวิธี

  • การประเมินตนเอง ภาษีอากรส่วนใหญ่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากร ตามจำนวนที่พึงต้องชำระ
  • เจ้าพนักงานประเมิน หากว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีประ
    เมินตนเองไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ เจ้าพนักงานก็มีอำนาจประเมินให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และหรือ เบี้ยปรับเพิ่มขึ้น นอกเหนือ จากภาษีอากรที่ต้องเสีย
  • การหักภาษี ณ ที่จ่าย หลายกรณี กฎหมายกำหนด ให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่าย แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด เวลา ภาษีที่ถูกหักไว้นี้ มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเมื่อถึงกำหนดเวลา หรือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอาจได้รับเงินคืน ถ้าภาษีที่ถูกหักไว้เกินกว่าจำนวนภาษีที่พึงต้องเสีย


5. การอุทธรณ์ภาษีอากร
กรณี เกิดปัญหาข้อขัดแย้งพิพาทกัน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ระหว่างผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสีย หรืออำนาจการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร หากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการ ให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่ กฎหมายมักกำหนด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วนก่อน มิฉะนั้นผู้เสียภาษีอากรอาจเสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้


6. เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ

ผู้ไม่ชำระภาษีอากร จะต้องรับผิดในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระ พร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ กฎหมายมักให้อำนาจเจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล นอกจากนี้ อาจต้องรับโทษทางอาญา เช่น เสียค่าปรับ และหรือ ต้องระวางโทษจำคุกด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น